4.13.2552

Hare Krishna Movement




     พระกรุณาธิคุณเจ้า เอ.ซี. บัคธิเวดันธะ สวะมิ พระบฺุพาดฺะ ปรากฏบนโลกนี้ในปี ค.ศ. 1896 ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย ครั้งแรกท่านพบกับพระอาจารย์ทิพย์ ชรีละ บฺัคธิสิดดานธะ สะรัสวะทีี โกสวามี ในปี ค.ศ. 1922 บฺัคธิสิดดานธะ สะรัสวะที เป็นักวิชาการทางศาสนาที่มีชื่อเสียง และเป็นผู้สถาปนา โกดียะ มะทฺะ (ขบวนการไวชะณะวะที่ มีด้วยกันทั้งสิ้น64 ศูนย์ ) ที่ประเทศอินเดีย ท่านชอบเด็กหนุ่มที่มีการศึกษาดีคนนี้ และปลูกฝังให้เขาอุทิศชีวิตเพื่อสอนความรู้ด้านพระเวท ชรีละ พระบฺุพาดฺะ ได้มาเป็นศิษย์ของท่าน และในปี ค.ศ. 1933 จึงได้รับการอุปสมบทให้เป็นสาวก
   ในการพบกันครั้งแรกนั้น ชรีละ บฺัคธิสิดดานธะ สะรัสวะทีี โกสวามี ได้ขอร้องชรีละ พระบุพาดฺะ ให้เผยแพร่ความรู้ด้านพระเวทเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งหลายปีต่อมา ชรีละ พระบุพาดฺะ ได้เขียนคำอธิบาย ภควัท คีตา และได้ช่วยงานของ โกดียะ มะทฺะ ในปี 1944 ท่านได้เริ่มทำวารสารรายปักษ์ชื่อ Back to Godhead (กลับคืนสู่พระเจ้า ) เป็นภาษาอังกฤษ ด้วยตัวคนเดียว ชรีละ พระบุพาดฺะ เป็นทั้งบรรณาธิการ พิมพ์ต้นฉบับ พิสูจน์อักษร และแจกจ่ายแต่ละฉบับด้วยตัวท่านเอง จนกระทั่งแม้ในปัจจุบัน วารสารฉบับนี้สาวกของชรีละ พระบุพาดฺะ ได้จัดพิมพ์อย่างต่อเนื่องไปทั่วโลกในหลายภาษา
     ในปี ค.ศ. 1950 ชรีละ พระบุพาดฺะ เกษียณจากชีวิตคฤหัสถ์เพื่ออุทิศเวลาในการศึกษา และเขียนหนังสือมากขึ้น ท่านเดินทางไปยังเมื่องศักดิ์สิทธิ์แห่งวรินดาวะนะ อาศัยอยู่อย่างสมถะที่วัดประวัติศาสตร์ ราดฺา ดาโมดะระ และ ที่แห่งนี้ ท่านได้อยู่และศึกษาอย่างลึกซึ้งและเขียนหนังสือเป็นเวลาหลายปี และรับเอาชีวิตสละโลก (สันนยาสะ หรือสันยาสี) ในปี ค.ศ. 1959 ชรีละ พระบุพาดฺะ ได้เริ่มผลงานชิ้นเอกของท่านที่วัดแห่งนี้ ด้วยการแปลหนังสือ ชรีมัด บากะวะทัม ( บฺากะวะทะ พุราณะ) 18,000 โศลก พร้อมทั้งเนื้อหาและคำอธิบายอย่างสมบูรณ์ หลังจากพิมพ์บฺากะวะทัมสามเล่ม ชรีละ พระบุพาดฺะ ได้เดินทางโดยเรือบรรทุกสินค้าไปที่นครนิวยอร์ก โดยที่ท่านเกือบไม่มีเงินเลย แต่มีความศรัทธาว่า ภารกิจของพระอาจารย์ทิพย์จะประสบความสำเร็จ ในวันที่มาถึงอเมริกา ท่านเห็นหมอกสีเทาปกคลุมตึกระฟ้ามากมาย จึงได้เขียนลงในสมุดบันทึกดังนี้ " พระองค์เจ้าคริชณะที่รัก ข้ามั่นใจว่า เมื่อสาส์นทิพย์นี้เจาะเข้าไปที่หัวใจของผู้คน แน่นอนว่าพวกเขาจะรู้สึกดีใจและหลุดพ้นจากสภาวะชีวิตที่ไร้ความทุกข์ทั้งปวง " ท่านอายุ 69 ปี ตัวคนเดียว และแม้ท่านจะมีหนทางอยู่ไม่มาก แต่ความรู้และการยอมอุทิศตนเสียสละที่ท่านมีอยู่เป็นแรงบันดาลใจและให้พลังในการทำงานของท่านอย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
     " ในวัยสูงอายุ คนส่วนใหญ่จะเกษียณ และพักผ่อนอย่างสุขสบาย " Harvey Cox นักวิชาการด้านศาสนาและนักประพันธ์แห่งมหาวิทยาลัย Harvard เขียนไว้ " ชรีละ พระบุพาดฺะ ได้เดินหน้าตามคำสั่งของพระอาจารย์ทิพย์ และเดินทางด้วยความยากลำบากตามคำเรียกร้องไปที่อเมริกา แน่นอนว่า ชรีละ พระบุพาดฺะ เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆพันคนของบรรดาครู แต่ว่าท่านเป็นหนึ่งในพัน หรืออาจจะเป็นหนึ่งในล้านของคนเหล่านั้น
     ในปีค.ศ. 1966 ท่านได้สถาปนาสมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำนึก ( The International Society for Krishna Consciousness ) ซึ่งเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของขบวนการ ฮะเร คริชณะ
     หลายปีต่อมา ชรีละ พระบุพาดฺะ ได้ดึงดูดให้คนมานับถือและเป็นสาวกนับพันๆคน ท่านได้เปิดวัดและอาศรมกว่าหนึ่งร้อยแห่ง และพิมพ์หนังสือจำนวนมากมาย ความสำเร็จที่นับว่าเป็นสิ่งพิเศษของท่านคือ ท่านได้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งวัฒนธรรมทิพย์อันมีมาแต่โบราณของอินเดียลงไปในศตวรรษที่ยี่สิบ ณ ดินแดนของโลกตะวันตก
     ในปี ค.ศ. 1968 ชรีละ พระบุพาดฺะ ส่งสาวกสามคู่ ให้นำขบวนการคริชณะจิตสำนึกไปที่ประเทศอังกฤษ ในตอนแรก ครอบครัวชาวฮินดูที่ชื่นชอบภารกิจของสาวกเหล่านี้ได้ต้อนรับและดูแลสาวกทั้งหมด ต่อมาไม่นานนัก พวกเขาเป็นที่รู้จักกันในนครลอนดอนว่าเป็นนักร้องบนถนนที่ Oxford Street และต่อมาไม่นาน วารสาร Times ได้ขึ้นพาดหัววารสารว่า " การร้องเพลงสรรเสริญคริชณะทำให้ลอนดอนต้องตื่นตะลึง "และในเวลาไม่นาน บทสวดมหามนต์ ฮาเร คริชณะได้เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิกวงสี่เต่าทอง (The Beatles ) จอร์จ แฮรริสัน George Harrison ได้รู้จักกับ ชรีละ พระบุพาดฺะ มาก่อน และสวดภาวนาบทมหามนต์ดังกล่าว ก่อนที่ท่านจะส่งสาวกมาประเทศอังกฤษ และมีความปราถนาจะช่วยเหลือท่านเป็นอย่างดี จอร์จ แฮร์ริสัน ได้ทำการบันทึกเสียงเพลงบทมหามนต์ และผลิตภายใต้เครื่องหมายแอปเปิ้ลของวงสี่เต่าทอง อัลบั้มชุดนี้ได้ติดอันดับในประเทศอังกฤษ และเคยติดอันดับหนึ่งในหลายประเทศในช่วงเวลานั้น
     เมื่อชรีละ พระบุพาดฺะ เดินมาถึงประเทศอังกฤษ ท่านได้เป็นแขกของ John Lennon และ ได้พักที่บ้านพักในเมือง Tittenhurst โดยท่านได้ตกแต่งวัดที่ Bloomsbury ใกล้กับพิพิธภัณฑ์อังกฤษ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1969 ท่านได้ทำการเปิดวัดแรกของ ราดฺา คริชณะ ที่ยุโรป ขบวนการจึงได้ขับเคลื่อนจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง และครั้งนี้ จอร์จ แฮร์ริสัน เสนอความคิดที่จะช่วยเหลือ ด้วยการถวายคฤหาสถ์ของตนเองที่สวยงามในเมือง Hertfordshire ให้ และปัจจุบันมีชื่อว่า คฤหาสถ์ บฺัคธิเวดันธะ เป็นศูนย์ปฏิบัติคริชณะจิตสำนึกที่สำคัญของสมาคมในประเทศอังกฤษจนกระทั่งปัจจุบัน
     ปัจจุบันสาวกของคริชณะ พบเห็นได้ทั่วโลก ตามเมืองใหญ่ๆ ด้วยการร้องเพลงในที่สาธารณะ และแจกจ่ายหนังสือความรู้พระเวทของชรีละ พระบุพาดฺะ พวกเขาได้จัดมหกรรมทางวัฒนธรรมที่มีความรื่นเริงตลอดทั้งปี และแจกจ่ายอาหารที่ถวายให้คริชณะ (เรียกว่า พระสาดัม ) เป็นล้านๆจานทั่วโลก ส่งผลให้สมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำนึกมีอิทธิพลอย่างสำคัญในชีวิตของผู้คนนับร้อยนับพัน A.L. Basham หนึ่งในผู้นำโลกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอินเดียได้เขียนไว้ว่า " ขบวนการ ฮาเร คริชณะ ถือกำเนิดขึ้นมาจากการไม่มีอะไรเลย และภายในยี่สิบปีก็กลับเป็นที่รู้จักกันทั่วไปทางตะวันตก นี่คือความจริงที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก "
     ภายในสิบสองปี ถึงแม้ชรีละ พระบุพาดฺะจะเป็นผู้สูงอายุ ท่านเดินทางรอบโลกสิบสี่ครั้ง เพื่อปาถกถา ซึ่งท่านได้นำไปปาถกถาทั้งหกทวีป การเดินทางที่มากมายเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ผลงานด้านวรรณกรรมของท่านลดลงแต่อย่างใด ผลงานของท่านกลับมากมายถึงขนาดรวมเป็นห้องสมุดอันหลากหลายทั้งด้าน ปรัชญา ศาสนา วรรณกรรม และวัฒนธรรมทางพระเวท
     แน่นอนว่า สิ่งสำคัญที่ชรีละ พระบุพาดฺะให้ไว้แก่โลกคือ หนังสือของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพ และยอมรับโดยนักวิชาการในความน่าเชื่อถือได้ ทั้งในด้านความลึกซึ้งและชัดเจน ซึ่งหนังสือเหล่านี้ได้ถูกใช้เป็นตำราเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาต่างๆ ตามมหาวิทยาลัย
     Garry Gelade ศาสตราจารย์สาขาปรัชญาที่ Oxford University เขียนไว้ว่า "หนังสือเหล่านี้ถือว่าเป็นขุมทรัพย์ ไม่ว่าผู้ใดจะมีความเชื่อในปรัชญาอะไร เมื่อเปิดใจอ่านหนังสือเหล่านี้ จะต้องคล้อยตามและประทับใจแน่นอน" และ Dr. Larry Shinn คณบดีแห่งวิทยาลัย Arts and Sciences at Bucknell University เขียนว่า "คุณความดีส่วนตัวของ ชรีละ พระบุพาดฺะ ทำให้ท่านเป็นผู้น่าเชื่อถือได้ที่แท้จริง ท่านแสดงให้เห็นว่าตัวท่านมีความรู้ในพระคัมภีร์อย่างสมบูรณ์ ความลึกซึ้งแห่งการรู้แจ้งที่ไม่ธรรมดา และปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะว่าท่านใช้ชีวิตตามที่ท่านสอนอย่างแท้จริง"
     งานประพันธ์ของชรีละ พระบุพาดฺะ ถูกแปลมากกว่า 70 ภาษา The Bhaktivedanta Book Ttust สถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1972เพื่อพิมพ์ผลงานของท่าน และได้ขยายเป็นผู้พิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดของหนังสือในด้านสาขาศาสนาและปรัชญาอินเดีย จนปลายปี ค.ศ. 1991 หนังสือของท่านได้จำหน่ายออกไป 450 ล้านเล่ม
ก่อนที่ชรีละ พระบุพาดฺะ จะจากโลกนี้ไปในวันที่ 14 พฤศจิกายน 1977 ท่านได้เป็นผู้นำทางสมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำนึก และดูแลการเจริญเติบโตให้เป็นสหพันธ์โลก ที่มีทั้งอาศรม โรงเรียน วัด สถาบัน และชุมชนเกษตร มากมายกว่าหนึ่งร้อยแห่ง จนปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่