4.30.2552

INTERNET : A Powerful tool for Connecting and Cultivating


     Srila Prabhupada wrote : " I am very encouraged by the reports of the tremendous success of your TV and radio programs. As much as possible try to increase our preaching programs by using all the mass media which are available. We are modern-day vaisnavas and we must preach vigorously using all the means available" (letter to Rupanuga, 30 December 1971)
     Muslim, Christians, and other groups are widely preaching through the internet. Srila Prabhupada stated numerous times that Vaisnavas use everything in Krishna's service, and the internet is no exception, where so many people spend most of their time - surfing, chatting, emailing, blogging, and so on. Software professionals spend more than half of their life on the computer desk. Where could be a better place to cultivate them ?
     My main experience in using the internet for getting to known new people and introducing them to Krishna consciousness is blogspot (in Thai & English language),and myspace. Systems of free webpage and have a lot for spaces for your post. You can sign up it at www.blogspot.com.and www.myspace. com / iskconbangkok. is another space which you can sign in and join us.

" In the cyber ocean many souls are seeking happiness "

International Society for Krishna Consciousness ( ISKCON BANGKOK )

4.13.2552

Hare Krishna Movement




     พระกรุณาธิคุณเจ้า เอ.ซี. บัคธิเวดันธะ สวะมิ พระบฺุพาดฺะ ปรากฏบนโลกนี้ในปี ค.ศ. 1896 ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย ครั้งแรกท่านพบกับพระอาจารย์ทิพย์ ชรีละ บฺัคธิสิดดานธะ สะรัสวะทีี โกสวามี ในปี ค.ศ. 1922 บฺัคธิสิดดานธะ สะรัสวะที เป็นักวิชาการทางศาสนาที่มีชื่อเสียง และเป็นผู้สถาปนา โกดียะ มะทฺะ (ขบวนการไวชะณะวะที่ มีด้วยกันทั้งสิ้น64 ศูนย์ ) ที่ประเทศอินเดีย ท่านชอบเด็กหนุ่มที่มีการศึกษาดีคนนี้ และปลูกฝังให้เขาอุทิศชีวิตเพื่อสอนความรู้ด้านพระเวท ชรีละ พระบฺุพาดฺะ ได้มาเป็นศิษย์ของท่าน และในปี ค.ศ. 1933 จึงได้รับการอุปสมบทให้เป็นสาวก
   ในการพบกันครั้งแรกนั้น ชรีละ บฺัคธิสิดดานธะ สะรัสวะทีี โกสวามี ได้ขอร้องชรีละ พระบุพาดฺะ ให้เผยแพร่ความรู้ด้านพระเวทเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งหลายปีต่อมา ชรีละ พระบุพาดฺะ ได้เขียนคำอธิบาย ภควัท คีตา และได้ช่วยงานของ โกดียะ มะทฺะ ในปี 1944 ท่านได้เริ่มทำวารสารรายปักษ์ชื่อ Back to Godhead (กลับคืนสู่พระเจ้า ) เป็นภาษาอังกฤษ ด้วยตัวคนเดียว ชรีละ พระบุพาดฺะ เป็นทั้งบรรณาธิการ พิมพ์ต้นฉบับ พิสูจน์อักษร และแจกจ่ายแต่ละฉบับด้วยตัวท่านเอง จนกระทั่งแม้ในปัจจุบัน วารสารฉบับนี้สาวกของชรีละ พระบุพาดฺะ ได้จัดพิมพ์อย่างต่อเนื่องไปทั่วโลกในหลายภาษา
     ในปี ค.ศ. 1950 ชรีละ พระบุพาดฺะ เกษียณจากชีวิตคฤหัสถ์เพื่ออุทิศเวลาในการศึกษา และเขียนหนังสือมากขึ้น ท่านเดินทางไปยังเมื่องศักดิ์สิทธิ์แห่งวรินดาวะนะ อาศัยอยู่อย่างสมถะที่วัดประวัติศาสตร์ ราดฺา ดาโมดะระ และ ที่แห่งนี้ ท่านได้อยู่และศึกษาอย่างลึกซึ้งและเขียนหนังสือเป็นเวลาหลายปี และรับเอาชีวิตสละโลก (สันนยาสะ หรือสันยาสี) ในปี ค.ศ. 1959 ชรีละ พระบุพาดฺะ ได้เริ่มผลงานชิ้นเอกของท่านที่วัดแห่งนี้ ด้วยการแปลหนังสือ ชรีมัด บากะวะทัม ( บฺากะวะทะ พุราณะ) 18,000 โศลก พร้อมทั้งเนื้อหาและคำอธิบายอย่างสมบูรณ์ หลังจากพิมพ์บฺากะวะทัมสามเล่ม ชรีละ พระบุพาดฺะ ได้เดินทางโดยเรือบรรทุกสินค้าไปที่นครนิวยอร์ก โดยที่ท่านเกือบไม่มีเงินเลย แต่มีความศรัทธาว่า ภารกิจของพระอาจารย์ทิพย์จะประสบความสำเร็จ ในวันที่มาถึงอเมริกา ท่านเห็นหมอกสีเทาปกคลุมตึกระฟ้ามากมาย จึงได้เขียนลงในสมุดบันทึกดังนี้ " พระองค์เจ้าคริชณะที่รัก ข้ามั่นใจว่า เมื่อสาส์นทิพย์นี้เจาะเข้าไปที่หัวใจของผู้คน แน่นอนว่าพวกเขาจะรู้สึกดีใจและหลุดพ้นจากสภาวะชีวิตที่ไร้ความทุกข์ทั้งปวง " ท่านอายุ 69 ปี ตัวคนเดียว และแม้ท่านจะมีหนทางอยู่ไม่มาก แต่ความรู้และการยอมอุทิศตนเสียสละที่ท่านมีอยู่เป็นแรงบันดาลใจและให้พลังในการทำงานของท่านอย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
     " ในวัยสูงอายุ คนส่วนใหญ่จะเกษียณ และพักผ่อนอย่างสุขสบาย " Harvey Cox นักวิชาการด้านศาสนาและนักประพันธ์แห่งมหาวิทยาลัย Harvard เขียนไว้ " ชรีละ พระบุพาดฺะ ได้เดินหน้าตามคำสั่งของพระอาจารย์ทิพย์ และเดินทางด้วยความยากลำบากตามคำเรียกร้องไปที่อเมริกา แน่นอนว่า ชรีละ พระบุพาดฺะ เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆพันคนของบรรดาครู แต่ว่าท่านเป็นหนึ่งในพัน หรืออาจจะเป็นหนึ่งในล้านของคนเหล่านั้น
     ในปีค.ศ. 1966 ท่านได้สถาปนาสมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำนึก ( The International Society for Krishna Consciousness ) ซึ่งเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของขบวนการ ฮะเร คริชณะ
     หลายปีต่อมา ชรีละ พระบุพาดฺะ ได้ดึงดูดให้คนมานับถือและเป็นสาวกนับพันๆคน ท่านได้เปิดวัดและอาศรมกว่าหนึ่งร้อยแห่ง และพิมพ์หนังสือจำนวนมากมาย ความสำเร็จที่นับว่าเป็นสิ่งพิเศษของท่านคือ ท่านได้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งวัฒนธรรมทิพย์อันมีมาแต่โบราณของอินเดียลงไปในศตวรรษที่ยี่สิบ ณ ดินแดนของโลกตะวันตก
     ในปี ค.ศ. 1968 ชรีละ พระบุพาดฺะ ส่งสาวกสามคู่ ให้นำขบวนการคริชณะจิตสำนึกไปที่ประเทศอังกฤษ ในตอนแรก ครอบครัวชาวฮินดูที่ชื่นชอบภารกิจของสาวกเหล่านี้ได้ต้อนรับและดูแลสาวกทั้งหมด ต่อมาไม่นานนัก พวกเขาเป็นที่รู้จักกันในนครลอนดอนว่าเป็นนักร้องบนถนนที่ Oxford Street และต่อมาไม่นาน วารสาร Times ได้ขึ้นพาดหัววารสารว่า " การร้องเพลงสรรเสริญคริชณะทำให้ลอนดอนต้องตื่นตะลึง "และในเวลาไม่นาน บทสวดมหามนต์ ฮาเร คริชณะได้เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิกวงสี่เต่าทอง (The Beatles ) จอร์จ แฮรริสัน George Harrison ได้รู้จักกับ ชรีละ พระบุพาดฺะ มาก่อน และสวดภาวนาบทมหามนต์ดังกล่าว ก่อนที่ท่านจะส่งสาวกมาประเทศอังกฤษ และมีความปราถนาจะช่วยเหลือท่านเป็นอย่างดี จอร์จ แฮร์ริสัน ได้ทำการบันทึกเสียงเพลงบทมหามนต์ และผลิตภายใต้เครื่องหมายแอปเปิ้ลของวงสี่เต่าทอง อัลบั้มชุดนี้ได้ติดอันดับในประเทศอังกฤษ และเคยติดอันดับหนึ่งในหลายประเทศในช่วงเวลานั้น
     เมื่อชรีละ พระบุพาดฺะ เดินมาถึงประเทศอังกฤษ ท่านได้เป็นแขกของ John Lennon และ ได้พักที่บ้านพักในเมือง Tittenhurst โดยท่านได้ตกแต่งวัดที่ Bloomsbury ใกล้กับพิพิธภัณฑ์อังกฤษ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1969 ท่านได้ทำการเปิดวัดแรกของ ราดฺา คริชณะ ที่ยุโรป ขบวนการจึงได้ขับเคลื่อนจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง และครั้งนี้ จอร์จ แฮร์ริสัน เสนอความคิดที่จะช่วยเหลือ ด้วยการถวายคฤหาสถ์ของตนเองที่สวยงามในเมือง Hertfordshire ให้ และปัจจุบันมีชื่อว่า คฤหาสถ์ บฺัคธิเวดันธะ เป็นศูนย์ปฏิบัติคริชณะจิตสำนึกที่สำคัญของสมาคมในประเทศอังกฤษจนกระทั่งปัจจุบัน
     ปัจจุบันสาวกของคริชณะ พบเห็นได้ทั่วโลก ตามเมืองใหญ่ๆ ด้วยการร้องเพลงในที่สาธารณะ และแจกจ่ายหนังสือความรู้พระเวทของชรีละ พระบุพาดฺะ พวกเขาได้จัดมหกรรมทางวัฒนธรรมที่มีความรื่นเริงตลอดทั้งปี และแจกจ่ายอาหารที่ถวายให้คริชณะ (เรียกว่า พระสาดัม ) เป็นล้านๆจานทั่วโลก ส่งผลให้สมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำนึกมีอิทธิพลอย่างสำคัญในชีวิตของผู้คนนับร้อยนับพัน A.L. Basham หนึ่งในผู้นำโลกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอินเดียได้เขียนไว้ว่า " ขบวนการ ฮาเร คริชณะ ถือกำเนิดขึ้นมาจากการไม่มีอะไรเลย และภายในยี่สิบปีก็กลับเป็นที่รู้จักกันทั่วไปทางตะวันตก นี่คือความจริงที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก "
     ภายในสิบสองปี ถึงแม้ชรีละ พระบุพาดฺะจะเป็นผู้สูงอายุ ท่านเดินทางรอบโลกสิบสี่ครั้ง เพื่อปาถกถา ซึ่งท่านได้นำไปปาถกถาทั้งหกทวีป การเดินทางที่มากมายเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ผลงานด้านวรรณกรรมของท่านลดลงแต่อย่างใด ผลงานของท่านกลับมากมายถึงขนาดรวมเป็นห้องสมุดอันหลากหลายทั้งด้าน ปรัชญา ศาสนา วรรณกรรม และวัฒนธรรมทางพระเวท
     แน่นอนว่า สิ่งสำคัญที่ชรีละ พระบุพาดฺะให้ไว้แก่โลกคือ หนังสือของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพ และยอมรับโดยนักวิชาการในความน่าเชื่อถือได้ ทั้งในด้านความลึกซึ้งและชัดเจน ซึ่งหนังสือเหล่านี้ได้ถูกใช้เป็นตำราเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาต่างๆ ตามมหาวิทยาลัย
     Garry Gelade ศาสตราจารย์สาขาปรัชญาที่ Oxford University เขียนไว้ว่า "หนังสือเหล่านี้ถือว่าเป็นขุมทรัพย์ ไม่ว่าผู้ใดจะมีความเชื่อในปรัชญาอะไร เมื่อเปิดใจอ่านหนังสือเหล่านี้ จะต้องคล้อยตามและประทับใจแน่นอน" และ Dr. Larry Shinn คณบดีแห่งวิทยาลัย Arts and Sciences at Bucknell University เขียนว่า "คุณความดีส่วนตัวของ ชรีละ พระบุพาดฺะ ทำให้ท่านเป็นผู้น่าเชื่อถือได้ที่แท้จริง ท่านแสดงให้เห็นว่าตัวท่านมีความรู้ในพระคัมภีร์อย่างสมบูรณ์ ความลึกซึ้งแห่งการรู้แจ้งที่ไม่ธรรมดา และปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะว่าท่านใช้ชีวิตตามที่ท่านสอนอย่างแท้จริง"
     งานประพันธ์ของชรีละ พระบุพาดฺะ ถูกแปลมากกว่า 70 ภาษา The Bhaktivedanta Book Ttust สถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1972เพื่อพิมพ์ผลงานของท่าน และได้ขยายเป็นผู้พิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดของหนังสือในด้านสาขาศาสนาและปรัชญาอินเดีย จนปลายปี ค.ศ. 1991 หนังสือของท่านได้จำหน่ายออกไป 450 ล้านเล่ม
ก่อนที่ชรีละ พระบุพาดฺะ จะจากโลกนี้ไปในวันที่ 14 พฤศจิกายน 1977 ท่านได้เป็นผู้นำทางสมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำนึก และดูแลการเจริญเติบโตให้เป็นสหพันธ์โลก ที่มีทั้งอาศรม โรงเรียน วัด สถาบัน และชุมชนเกษตร มากมายกว่าหนึ่งร้อยแห่ง จนปัจจุบัน

4.12.2552

เนื้อหาของ : ภควัท คีตา ( ฉบับเดิม )




     หนังสือ บะกะวัด  กีทา (ภควัทคีตา) ได้รับความนิยมจากการพิมพ์ และการอ่านอย่างแพร่หลาย แรกเริ่มเดิมทีจะเป็นตอนหนึ่งของมะฮาบาระทะ ( มหาภารตะ )ซึ่งเป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ภาษาสันสกฤตของโลกในอดีต มะฮาบาระทะ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในประวัติศาสตร์ ซึ่งนำเรามาสู่ยุคปัจจุบัน คือ คะลิ ยุคะ (กลียุค) ซึ่งเป็นตอนเริ่มต้นของยุคปัจจุบันนี้ เหตุการณ์นี้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณห้าพันปีก่อนหน้านี้ โดยพระคริชณะ (พระกฤษณะ) ตรัสบะกะวัด กีทา ให้แก่ อารจุนะ ( 
อรชุน)ซึ่งเป็นพระสหายและพระสาวกของพระองค์
     การสนทนาครั้งนี้เป็นการสนทนาปรัชญาและธรรมะอันยิ่งใหญ่ที่สุดที่มนุษย์เคยรู้จักมา ปรากฏขึ้้นก่อนจะเกิดสงครามข้อบาดหมางอย่างรุนแรงในราชวงศ์กษัตริย์ ระหว่างโอรสหนึ่งร้อยพระองค์ของดริทะราชทระ และฝ่ายพาณดะวะ พระโอรสของพาณดุ ซึ่งทั้งสองฝ่ายเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน
     ดริทะราชทระและพาณดุเป็นพี่น้องกัน ประสูติในราชวงศ์คุรุ สืบเชื้อสายมาจากพระราชาบาระทะ ซึ่งเป็นผู้ปกครองโลกในอดีต ชื่อ มะฮาบาระทะ มาจากพระราชาองค์นี้ เนื่องจากดริทะราชทระทรงเป็นพระเชษฐาประสูติมามีพระเนตรพิการ บัลลังก์ซึ่งควรจะเป็นของพระองค์จึงตกมาเป็นของพระอนุชาพาณดุ
     เมื่อพาณดุสววรคตในขณะที่ยังทรงพระเยาว์ โอรสห้าพระองค์ ยุดิชทิระ บีมะ อารจุนะ นะคุละ และสะฮะเดวะ ได้มาอยู่ภายใต้การดูแลของ ดริทะราชทระ ผู้ขึ้นครองราชแทนพาณดุ ดังนั้นพระโอรสของ ดริทะราชทระ และพระโอรสของพาณดุทรงเจริญเติบโตในพระราชวังเดียวกัน ทั้งสองตระกูลได้รับการฝึกฝนศิลปการทำศึกสงครามจากพระอาจารย์ผู้ชำนาญ โดรณะ และบีชมะ พระอัยกาผู้ควรแก่การเคารพนับถือ และเป็นผู้ให้คำปรึกษา
     แต่ว่าพระโอรสของ ดริทะราชทระ โดยเฉพาะดุรโยดะนะองค์โตที่สุด จงเกลียดจงชังและอิจฉาพาณดะวะ พระราชาดริทะราชทระผู้มีพระเนตรบอดสนิทซำ้จิตใจเลวร้ายประสงค์ให้โอรสของตนเองขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อไป และไม่พึงประสงค์ให้พาณดะวะได้ขึ้นครองราชย์
     ดังนั้นเมื่อได้รับอนุญาตจากดริทะราชทระ ดุรโยดะนะจึงวางแผนสังหารโอรสทั้งหมดของพาณดุ แต่เสด็จอาวิดุระและพระคริชณะให้ความคุ้มครองพาณดะวะอย่างระมัดระวัง องค์คริชณะทรงเป็นพระญาติของพาณดะวะ ดังนั้น พาณดะวะจึงสามารถหลบหลีกการลอบปลงพระชนม์ได้หลายครั้ง
     พระคริชณะทรงเป็นพระเจ้าสูงสุดที่แสดงบทบาทเป็นเจ้าชายในราชวงศ์สมัยเดียวกันนี้้ ในบทบาทนี้พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาของพระแม่นางคุนที หรือพระแม่นางพริทา พระมเหสีของพาณดุผู้เป็นมารดาขแงพาณดะวะ ดังนั้น ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นญาติกัน และทรงเป้นผู้ทะนุบำรุงศาสนาเสมอมา พระคริชณะ ทรงโปรดโอรสของพาณดุผู้ทรงคุณธรรม พระองค์จึงคุ้มครองพาณดะวะ
     ในที่สุด ดุรโยดะนะผู้ฉลาดแกมโกงได้ท้าทายพาณดะวะเล่นเกมส์การพนัน ดุรโยดะนะและพระอนุชา ได้รับชัยชนะ พระนางโดรพะดี พระชายาผู้บริสุทธิ์และจงรักภักดีของพาณดะวะได้ตกเป็นเหยื่อจากเกมส์การพนันในครั้งนี้ โดยการดูถูกและพยายามจับเธอเปลื้องผ้าต่อหน้าที่ชุมนุมของโอรสและกษัตริย์ทั้งหลาย พลังอำนาจของพระคริชณะทรงช่วยเธอไว้ แต่การพนันที่มีการวางแผนฉ้อโกงไว้ล่วงหน้าได้โกงเอาราชณาจักรของพาณดะวะ และเนรเทศโอรสของพาณดะวะทั้งห้าไปอยู่ในป่าเป็นเวลาสิบสามปี 
     หลังจากพ้นกำหนดการเนรเทศ พาณดะวะ ทรงขอราชอาณาจักรซึ่งเป็นสิทธิของพวกตนที่ควรจะได้ แต่ดุรโยดะนะปฏิเสธอย่างไม่ใยดี ในฐานะที่เป็นโอรสกษัตริย์จึงมีหน้าที่จะต้องรับใช้ด้วยการปกครองบ้านเมือง พาณดะวะทั้งห้าพระองค์จึงขอเพียงห้าหมู่บ้านมาปกครอง แต่ดุรโยดะนะปฏิเสธอย่างยะโสโอหังว่าจะไม่ให้แม้แต่ที่ดินพอที่จะเอาไปปักเข็ม
     ทั้งหมดนี้ พาณดะวะพยายามอดทนและอดกลั้นเสมอมา แต่ครั้งนี้ดูเหมือนว่าสงครามจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
     อย่างไรก็ดี ขณะที่เจ้าชายต่างๆในโลกแบ่งพวกกัน บ้างก็ไปร่วมกับโอรสของดริทะราชทระ บ้างก็ไปร่วมกับพาณดะวะ พระคริชณะทรงแสดงบทบาทเป็นผู้ส่งสารให้โอรสของพาณดุ พระคริชณะเสด็จไปที่ศาลสถิตยุติธรรมของดริทะราชทระเพื่อขอร้องให้สงบศึก แต่เมื่อคำขอร้องถูกปฏิเสธ สงครามจึงต้องเกิดขึ้น
     พาณดะวะผู้มีคุณธรรมอันสูงส่ง ทรงทราบดีว่าพระคริชณะคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ขณะที่ผู้มีบาปหนาเยี่ยงเหล่าโอรสของดริทะราชทระไม่เชื่อเช่นนั้น ถึงกระนั้น พระคริชณะทรงเสนอที่จะร่วมรบด้วย ตามที่ผู้ไม่มีความศรัทธาปราถนา ในฐานะที่คริชณะทรงเป็นพระเจ้า พระองค์จะไม่รบด้วยพระองค์เอง หากฝ่ายใดปราถนาจะได้กองทัพของพระองค์ไปอีกฝ่ายก้จะได้องค์คริชณะมาเป็นที่ปรึกษาและผู้ช่วย ดุรโยดะนะทรงเป็นอัจฉริยะทางการเมือง จึงเลือกเอากองทัพของพระคริชณะ ขณะที่พาณดะวะยินดีที่จะได้องค์คริชณะมาอยู่ฝ่ายตน
     ด้วยเหตุนี้ พระคริชณะจึงทรงมาเป็นสารถีของอารจุนะ และทรงรับเอาราชรถขุนศึกมาขับ นี่คือจุดกำเนิดของ บะกะวัด กีทา ขณะที่กองทัพของทั้งสองฝ่ายเรียงรายกันเป็นทิวแถวพร้อมที่จะรบ และดริทะราชทระตรัสถามสันจะยะ เลขาของพระองค์ อย่างสนพระทัยว่า "พวกเขากำลังทำอะไรกัน ?"

  โครงเรื่องได้วางไว้เรียบร้อยแล้ว ในที่นี้จะกล่าวถึงการแปลและการอธิบายโดยย่อ

    โครงสร้างของผุ้แปลบะกะวัด กีทา ที่เป็นภาษาอังกฤษ และโดยทั่วไป (รวมถึงภาษาไทย) จะขจัดเอาพระคริชณะไปอยู่ข้างๆ เพื่อที่ผู้แปลเองจะได้เสนอแนวความคิดและแนวปรัชญาว่า ประวัติศาสตร์มะฮาบาระทะ เป็นเพียงนวนิยายประหลาดโบราณ และองค์คริชณะเป็นเพียงเครื่องมือทางกวีเพื่อเสนอความคิดของอัจฉริยะที่ไม่ประสงค์จะออกนาม หรืออย่างดีที่สุด พระคริชณะ ก็เป็นเพียงตัวประกอบทางประวัติศาสตร์
   แต่สำหรับ บะกะวัด กีทา ฉบับดั้งเดิมนั้น คริชณะ ทรงเป็นทั้งจุดมุ่งหมายและแก่นสารที่สำคัญของ บะกะวัด กีทา ดังที่ กีทา ได้กล่าวไว้ในตัวเอง ดังนั้น ในการแปลและการอธิบายบะกะวัด กีทา ในบทความทั้งหมดของบล็อกนี้ จะนำผู้อ่านมุ่งตรงไปสู่องค์คริชณะ แทนที่จะนำเราออกห่างจากพระองค์ ซึ่งบะกะวัด กีทา ฉบับเดิมนี้ มีเอกลักษณ์ของตนเอง และเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งก็คือ บะกะวัด กีทา ตลอดทั้งเล่ม มีความคงเส้นคงวา และเป็นที่เข้าใจเชื่อถือได้ และพระคริชณะทรงเป็นผู้ตรัส บะกะวัด กีทา ด้วยตัวพระองค์เอง และทรงเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของบะกะวัด กีทา ตามที่ควรจะเป็น เพื่อการนำเสนอคำแปลศาสตร์ของพระคัมภีร์อันยิ่งใหญ่โบราณตามความเป็นจริง

เพิ่มเติม
***  บะกะวัด กีทา เป็นสิ่งที่คริชณะกล่าวไว้ในสงครามที่ทุ่งคุรุคเชทระ ด้วยเวลา 45 นาที แต่เราอ่าน บะกะวัด กีทา ทั้งชีวิต ก็ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาของหนังสือได้ทั้งหมด

โดยสมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำนึก ( ISKCON BANGKOK )