โรคเครียด
คือลักษณะอาการของสมองหรือจิตใจที่ไม่ได้ผ่อนคลายเพราะครำ่เคร่งหรือยึดติดกับวัตถุหรือสิ่งต่างๆมากเกินไป
สาเหตุ
สาเหตุของความเครียดเกิดจากหลายประการ เช่น ถูกเชิญให้ออกจากงาน หางานไม่ได้ ถูกลดเงินเดือน ธุรกิจส่วนตัวขาดทุนหรือล้มละลาย ค่าเงินตก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุอีกมากมายที่ทำให้เราเกิดโรคเครียด
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเครียด สรุปได้ดังนี้
1.เรามีความต้องการบางสิ่งบางอย่าง แต่ไม่ได้ดังที่ใจเราต้องการ
2.เมื่อเราได้สิ่งที่ต้องการมาแล้ว เราวิตกกังวลว่าสักวันจะสูญเสียไป
3.สูญเสียสิ่งที่คิดว่า "เป็นของเรา"
อาการ
อาการของโรคเครียดที่พบเห็นบ่อยคือ ปวดหัว ปวดไมเกรน นอนไม่หลับ ปวดหน้าผาก ปวดเบ้าตา กล้ามเนื้อเกร็ง หงุดหงิด เจ้าอารมณ์ โมโหง่าย ขาดเหตุผล บ่นและวิตกกังวลเสมอ ใจสั่น เป็นโรคกระเพาะหรือความดันโลหิตสูง เหล่านี้เป็นต้น สิ่งที่บ่งชี้ว่าโรคเครียดแพร่ระบาดมากคือ ข่าวการฆ่าตัวตายที่มีแทบไม่เว้นแต่ละวัน คลีนิคจิตแพทย์และโรงพยาบาลโรคจิตมีคนป่วยเพิ่มมากขึ้น จิตแพทย์มีงานล้นมือและยากล่อมประสาทขายดีมากขึ้น
แนวคิดที่ทำให้คลายเครียด
หากเราวิเคราะห์โรคเครียด ตามหลักคัมภีร์พระเวท สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมีสามประการ
1.ความไม่สะอาด
2.รับประทานอาหารมากเกินไป
3.วิตกกังวลมากเกินไป
ความเครียดที่เป็นความทุกข์ มีสาเหตุมาจากสามประการเช่นกัน
1.เกิดจากร่างกายและจิตใจของตนเอง
2.เกิดจากร่างกายและจิตใจของผู้อื่น
3.เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น พายุฝน นำ้ท่วม ฝนแล้ง แผ่นดินไหว
จากลักษณะอาการและสาเหตุของโรคเครียดที่กล่าวมา สรุปได้ว่าส่วนใหญ่เกิดจากความวิตกกังวลมากเกินไป และเกิดขึ้นเพราะจิตใจและร่างกายของเราเองและของคนรอบข้าง
หลังจากเราทราบสาเหตุแล้วก็เริ่มหาวิธีแก้ ในที่นี้จะเน้นการแก้ปัญหาด้วยตนเองและที่ตัวเรา ด้วยการวิเคราะห์ตัวเราและสภาพสิ่งแวดล้อมตามความเป็นจริง
ประมาณห้าพันปีก่อน พระกฤษณะ(หรืออ่านว่าคริชณะตามแบบภาษาเดิม)ตรัสแก่อรชุน(อารจุนะ) ในหนังสือ "ภควัต คีตา ฉบับเดิม" ในบทที่เจ็ด มีใจความว่า
ร่างกายของคนเราประกอบด้วย ธาตุหยาบห้าอย่าง คือ ดิน นำ้ ลม ไฟ อากาศ และธาตุละเอียดอีกสามอย่างคือ จิตใจ ปัญญา และอหังการ ธาตุทั้งแปดนี้เป็นธาตุวัตถุที่ไม่ถาวร ซึ่งไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง ตัวเราคือจิตวิญญาณที่เป็นอมตะ ไม่มีวันตาย เปี่ยมไปด้วยความรู้และเปี่ยมไปด้วยความปลื้มปิติสุข ( อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในตอนต่อไป)
hare krsna
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่